การบันทึกข้อมูลการพบแพทย์ (Visits)

จาก [หน้าจอหลัก] เมื่อคลิกที่ปุ่ม [เพิ่มรายการพบแพทย์] หรือ [Add a new visit] แล้วจะปรากฎหน้าจอ [บันทึกการพบแพทย์] หรือ [Patient’s visit] สำหรับป้อนหรือแก้ไขข้อมูลการมาพบแพทย์ของผู้ป่วยขึ้นดังรูปข้างล่าง

หากเป็นการป้อนข้อมูลการพบแพทย์ครั้งใหม่ โปรแกรมจะไม่อนุญาตให้ป้อนข้อมูลใดๆ ก่อนการเลือกผู้ป่วย (ที่มาพบแพทย์) จากรายชื่อผู้ป่วยเสียก่อน (และหากเป็นผู้ป่วยใหม่ที่ยังไม่เคยมีประวัติมาก่อน ก็สามารถเพิ่มชื่อผู้ป่วย และเลือกมาใช้งานได้ทันที)

แต่หากเป็นการแก้ไขข้อมูลการพบแพทย์ ก็สามารถแก้ไขข้อมูลได้ทันที

การเลือกผู้ป่วยจากรายชื่อ

 

1. คลิกเลือกเปิดหน้าจอรายชื่อผู้ป่วย

ที่หน้าจอ [บันทึกการพบแพทย์] หรือ [Patient’s visit] ให้คลิกที่ปุ่ม [เลือกผู้ป่วย] หรือ [Choose a patient for this visit…] (หมายเลข 1 ที่ภาพด้านบน) จะปรากฎหน้าจอ [รายชื่อผู้ป่วย] ขึ้นมา โดยที่ด้านล่างของหน้าจอนี้จะมีปุ่มเพิ่มขึ้นมาจากปกติ (หมายเลข 2 ภาพล่าง) คือ

  • ปุ่ม [เลือก] หรือ [Choose] เป็นปุ่มที่เลือกผู้ป่วยจากรายการ เพื่อนำไปใช้บันทึกในการพบแพทย์
  • ปุ่ม [ยกเลิก] หรือ [Cancel] เป็นปุ่มยกเลิกการเลือกผู้ป่วย

2. ให้ผู้ใช้ทำการค้นหาผู้ป่วยที่มาพบแพทย์

ซึ่งหากเป็นผู้ป่วยคนใหม่ ก็สามารถเพิ่มชื่อผู้ป่วยที่หน้าจอนี้ได้ทันที

3. คลิกเลือกผู้ป่วยที่ต้องการ (หมายเลข 1)

 

4. เมื่อเลือกผู้ป่วยได้แล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม [เลือก]

ที่ด้านล่างของหน้าจอ (หมายเลข 2)

จากนั้นโปรแกรมจะนำข้อมูลผู้ป่วยที่เลือก ไปบันทึกในการพบแพทย์ครั้งนี้ พร้อมกับอนุญาตให้แก้ไขข้อมูลการพบแพทย์ที่ส่วนล่าง (หมายเลข 2 ภาพบนสุด) ได้ต่อไป

บันทึกการพบแพทย์

 

1. วันและเวลาที่พบ (Date and time)

โปรแกรมจะใส่ค่าวันและเวลาปัจจุบันให้ในช่องนี้ ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้ตามต้องการ

 

2. ข้อมูลการพบแพทย์ (Visit Information)

  • อาการสำคัญ (CC หรือที่เรียกว่า Chief Complaint): คืออาการสำคัญที่ผู้ป่วยแจ้งให้ทราบในการมาพบแพทย์
  • อาชีพและที่อยู่ (Career and Address): คืออาชีพและที่อยู่ของผู้ป่วยขณะมาพบแพทย์ หากเป็นผู้ป่วยเก่า โปรแกรมจะนำข้อมูลอาชีพและที่อยู่ล่าสุดที่เคยบันทึกไว้ มาใส่ให้ในช่องนี้ และหากข้อมูลนี้มีการเปลี่ยนแปลง ขณะสร้างข้อมูลการพบแพทย์ครั้งใหม่ (มิใช่การแก้ไขข้อมูลการพบแพทย์) โปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลนี้กลับไปในประวัติผู้ป่วยให้อัตโนมัติ ดังนั้นการมาพบแพทย์แต่ละครั้ง จะเป็นการบันทึกอาชีพ และที่อยู่ขณะนั้นเอาไว้ด้วย

3. ข้อมูลทางการแพทย์ (Medical Information)

  • อาการ (Symptom): อาการของผู้ป่วยโดยละเอียด
  • การตรวจพิเศษ (Investigation): เป็นข้อมูล
  • การตรวจพิเศษในการมาพบแพทย์ครั้งนั้น เช่น ตรวจเลือด X-Ray เป็นต้น ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลใหม่เอง หรือเลือกจากรายการที่โปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากที่ผู้ใช้เคยป้อน ก็ได้ (คลิกที่ปุ่มด้านหน้าของช่องข้อมูล)
    การวินิจฉัยเบื้องต้น (Impression): การวินิจฉัยของแพทย์เบื้องต้น ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลใหม่เอง หรือเลือกจากรายการที่โปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากที่ผู้ใช้เคยป้อน ก็ได้ (คลิกที่ปุ่มด้านหน้าของช่องข้อมูล)
  • เหตุที่มาพบแพทย์ (Causes of clinic visit): ข้อมูลวินิจฉัยอีกอย่างหนึ่ง ผู้ใช้ต้องเลือกจากรายการที่โปรแกรมมีให้เท่านั้น ไม่สามารถใส่เพิ่มได้ (คลิกที่ปุ่มด้านหน้าของช่องข้อมูล ซึ่งจะปรากฎหน้าจอตามภาพด้านล่าง) ข้อมูลนี้จะถูกนำไปทำสถิติของโรคได้ในอนาคต
  • การรักษา (Treatment): บันทึกรายการการรักษา ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลใหม่เอง หรือเลือกจากรายการที่โปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากที่ผู้ใช้เคยป้อน ก็ได้ (คลิกที่ปุ่มด้านหน้าของช่องข้อมูล)
  • การให้ยา (Medication): บันทึกรายการยาที่จ่ายให้ผู้ป่วย ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลใหม่เอง หรือเลือกจากรายการที่โปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากที่ผู้ใช้เคยป้อน ก็ได้ (คลิกที่ปุ่มด้านหน้าของช่องข้อมูล)

4. ค่าใช้จ่าย (Charging)

เป็นบันทึกค่าใช้จ่ายการรักษาในแต่ละครั้ง